สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประกาศยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนระยะ 7 ปี ฉบับใหม่ (2558 - 2564) ปรับยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการพัฒนาประเทศ โดยการส่งเสริมการลงทุน inbound value-added investments และการลงทุนของไทยในต่างประเทศ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ก้าวผ่านการเป็น “ประเทศรายได้ระดับกลาง” และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวกับนักลงทุนระหว่างงานสัมมนาว่า “ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ของบีโอไอสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาระยะยาวของประเทศและการเติบโตอย่างยั่งยืน”

นโยบายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่จะให้สิทธิพิเศษแก่การลงทุนที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการบริการที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

วิธีใหม่เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์จากการลงทุน


 

สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของบีโอไอ

ประเภทกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่ม A ได้แก่ กิจการที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ สำหรับกิจกรรมเหล่านี้ บีโอไอเสนอการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ถึง 8 ปี สิทธิพิเศษทางอากรที่เกี่ยวกับเครื่องจักรและวัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี

กิจกรรมองค์ความรู้ มุ่งเน้นขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาและการออกแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ กิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่มีการลงทุนในประเทศน้อยหรือยังไม่มีการลงทุน จะได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี

กิจกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาประเทศแต่มีการลงทุนในประเทศน้อยหรือยังไม่มีการลงทุนในประเทศไทยจะได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี กิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำกว่า แต่เพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรในประเทศและทำให้ห่วงโซ่อุปทานแข็งแกร่งขึ้นจะได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี

กลุ่ม B ได้แก่ กิจกรรมที่ไม่ได้ใช้โทคโนโลยีระดับสูง แต่ยังคงมีความสำคัญต่อห่วงโซ่แห่งคุณค่า จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี รวมถึงสิทธิพิเศษด้านอากรที่เกี่ยวกับเครื่องจักรและวัตถุดิบ

สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ


 
  • A1

    อุตสาหกรรมฐานความรู้ มุ่งเน้นการวิจัยและการพัฒนาและการออกแบบเพื่อยกระดับความสามารถของประเทศในการแข่งขัน (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี โดยไม่จำกัดวงเงิน ได้รับการยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี)

  • A2

    กิจกรรมเกี่ยวกับโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ กิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยมีการลงทุนในประเทศอยู่น้อยหรือไม่มีเลย (ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และการยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี)

  • A3

    กิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศโดยมีการลงทุนในประเทศอยู่น้อย (ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี และการยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ และและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี)

  • A4

    กิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำกว่าเทคโนโลยีใน A1 ถึง A3 แต่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ทรัพยากรในประเทศและทำให้ห่วงโซ่อุปทานแข็งแกร่ง (ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี และการยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร และและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี)

  • B1/B2

    สนับสนุนอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่ยังคงมีความสำคัญต่อห่วงโซ่แห่งคุณค่า (B1 : ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี B2 : ยกเว้นอากรนำเข้าวัตถุดิบและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี)

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ

แม้บีโอไอจะยกเลิกระบบการจัดโซนนิงภายใต้นโยบายใหม่ โครงการการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีกหนึ่งปี และโครงการในจังหวัดที่มีรายได้ต่ำที่สุด 20 จังหวัดจะได้สิทธิประโยชน์เป็นเวลา 3 ปี ภายใต้สิทธิพื้นฐานสอดคล้องกับประเภทของอุตสาหกรรมที่ดำเนินการ

นอกจากนี้ โครงการที่ลงทุนหรือใช้จ่ายในกิจการที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม 6 ด้านดังต่อไปนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 1 ถึง 3 ปี ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุน /การใช้จ่าย
 

  • การวิจัยพัฒนา(R&D) ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยพัฒนาที่ทำเอง หรือว่าจ้างผู้อื่นภายในประเทศ หรือการวิจัยพัฒนาร่วมกับองค์กรในต่างประเทศ
  • การบริจาคให้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง สถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทยตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
  • ค่าธรรมเนียมในการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาในประเทศ
  • การฝึกอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง
  • การพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งทำเองหรือว่าจ้างผู้อื่นภายในประเทศ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

ระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจะไม่เกิน 8 ปี

 

การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

คณะกรรมการเห็นชอบให้มีมาตรการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการSMEs ในประเทศไทย กิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ 38 ประเภทจากยุทธศาสตร์การลงทุน 7 ปี จะได้รับเลือกเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ มาตรการนี้จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเพิ่มอีก 2 ปีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการลงทุน นโยบายนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2560

For more information, please visit http://www.boi.go.th