ข่าวสารบริษัท
เหมราชฯ เผยธุรกิจครึ่งปีหลังและจากนี้เติบโตต่อเนื่อง
30/06/2553
ตัวเลขครึ่งปีแรกพุ่งจากยอดขายให้ฟอร์ด มอเตอร์ ครึ่งปีหลังสดใส มุ่งสู่“ช่วงเวลาแห่งการเติบโต” ในอนาคต
กรุงเทพฯ – 30 มิถุนายน 2553 -- บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์ของไทย เปิดเผยผลประกอบการครึ่งปีแรก พร้อมคาดการณ์แนวโน้มและทิศทางธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553
นายเดวิด นาร์โดน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เหมราชฯ มั่นใจว่าผลประกอบการทั้งปี 2553 จะเป็นไปตามเป้า อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจให้บริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บวกกับแนวโน้มที่สดใสในช่วงครึ่งปีหลังและปีต่อๆ ไป ทั้งนี้ บรรยากาศการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในประเทศไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยคาดว่ากำลังการผลิตรถยนต์ ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50-60 และแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง คาดว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีในปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 5 โดยมียอดส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ 35”
“ผลประกอบการที่ดีขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้จากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงรายได้จากบริการสาธารณูปโภคและโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เราขายที่ดินไปแล้ว 610 ไร่ (244 เอเคอร์) แม้ว่าตลาดจะชะลอตัวในช่วงกลางไตรมาส 2 ทั้งนี้เป็นการปรับตัวจากอุปสงค์ที่หดตัวในช่วงปี 2552 จากที่ตั้งเป้าขายที่ดินในนิคมฯ ไว้ราว 800-1,000 ไร่ในปี 2553 บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะทำได้ถึง 1,000 ไร่”
“ล่าสุดบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศไทย ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินจำนวน 468 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด ซึ่งเป็นส่วนขยายของ ดีทรอยท์แห่งตะวันออก เพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ในประเทศไทย ซึ่งการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินครั้งสำคัญครั้งนี้จะไปปรากฏในผลประกอบการปี 2553 และ 2554 ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ความคืบหน้าในการก่อสร้างโรงงานจนแล้วเสร็จ” นายเดวิด กล่าว
จากการแถลงข่าวของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศไทย ในการตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นั่งแห่งใหม่ดังกล่าว ฟอร์ด มอเตอร์ ใช้เงินลงทุนถึง 1 หมื่น 5 พันล้านบาท โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่ 748,800 ตารางเมตร และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตเบื้องต้น 150,000 คันต่อปี ซึ่งร้อยละ 85 เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก
“การที่ ฟอร์ด มอเตอร์ เลือกนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด เป็นสถานที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ ตอกย้ำให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความสำเร็จของแนวคิดของเหมราชฯในการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อศักยภาพด้านการพัฒนาที่ดิน และคุณภาพในการให้บริการด้าน ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการอื่นๆ ที่ได้มาตรฐานระดับสากลของเหมราชฯ ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า เหมราชฯ ได้บุกเบิกแนวคิด “ดีทรอยท์ แห่งตะวันออก” ขึ้นพร้อมๆกับการเข้ามาลงทุนของฟอร์ดในบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี” นายเดวิด กล่าว
ถึงวันนี้ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ ณ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด (ระยอง) และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด มีพื้นที่รวมกันประมาณ 17,000 ไร่ หรือ 6,700 เอเคอร์ มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ 210 โรงงาน จากจำนวนผู้ประกอบการกว่า 144 ราย การขายที่ดินให้ฟอร์ด มอเตอร์ ถือเป็นแม่เหล็กที่จะช่วยดึงดูดให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมรถยนต์ สนใจเข้ามาตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของเหมราชฯ มากขึ้น
“ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจของเหมราชฯ ในปี 2553 ก็คือ ความมุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชุนรอบๆ นิคมฯ ตัวอย่างล่าสุด คือ ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ESIE) หรือ E:mc^2 ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ซึ่งเหมราชฯ ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดตั้งขึ้นเพื่อเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม และรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)” นายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) กล่าว
ในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใกล้เคียง เหมราชฯ ได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาและการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้น คือ โครงการ“Adopt-A-School - Train the Trainer Program” ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการให้แก่ครูจำนวน 200 คนจากพื้นที่รอบๆ นิคมฯ ในจังหวัดระยองและชลบุรี ส่วนกิจกรรมอื่นที่ดำเนินการต่อเนื่อง ได้แก่ การแจกอุปกรณ์การศึกษาแก่เด็กนักเรียนกว่า 13,000 คน การจัดค่ายศิลปะสำหรับนักเรียน การให้ทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี การสนับสนุนทีมฟุตบอลชลบุรี เอฟ.ซี. และล่าสุดโครงการอบรมอาชีพสำหรับแม่บ้าน
สรุปแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจของเหมราชฯ ในปี 2553 และปีต่อๆ ไป
นิคมอุตสาหกรรม
- รายได้ของเหมราชฯ จากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงฟื้นตัวหลังจากเดิมที่อุปสงค์ทั่วโลกลดลงอย่างมากในปี 2552
- คาดการณ์ยอดขายที่ดินในนิคมฯ ไว้ที่ 1,000 ไร่ โดยในช่วงครึ่งปีแรกสามารถขายได้แล้วร้อยละ 60 และคาดว่าจะมีแนวโน้มที่สดใสในปีต่อๆ ไป
- ธุรกิจหลักๆ ที่เหมราชฯ ดำเนินการอยู่ล้วนมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจในปี 2553 โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองเพียงเล็กน้อย และเชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีเช่นนี้ต่อไป ขณะที่กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและอื่นๆ
- บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า นับตั้งแต่ปี 2554 การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปลายน้ำจะกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากกฎระเบียบเกี่ยวกับการขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบของสิ่งแวดลอมและสุขภาพ (EHIA) มีความชัดเจน ส่งผลให้โครงการต่าง ๆ ดำเนินการต่อได้
ธรุกิจบริการด้านสาธารณูปโภค
- คาดว่ารายได้จากบริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในปี 2553 จากที่รายได้คงตัวในปี 2552
- คาดว่ารายได้จากบริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 960 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 2 พันล้านบาทภายในปี 2559
- การลงทุนด้านพลังงานของเหมราชฯจนถึงปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท
- เงินปันผลหรือกำไรจาการลงทุนด้านพลังงานที่เหมราชฯ จะได้รับต่อปี นับจาก ปี 2555 ถึง 2561 อยู่ที่ 1.2 ถึง 1.5 พันล้านบาท (เฉพาะจากโครงการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้เท่านั้น)
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- ยอดขายของ The Park Chidlom กลับมาคึกคักอีกครั้งในปี 2553 ด้วยราคาขายที่สามารถแข่งขันได้และชื่อเสียงของโครงการ
- มีแผนจะเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และอีสเทิร์น ซีบอร์ด ในปี 2553
- คาดว่ารายได้จากโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ในปี 2553 โดยยอดขายกระเตื้องขึ้นหลังจากซบเซาในปี 2552 คาดว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตต่อปี (CAGR) จะอยู่ที่ร้อยละ 15
ความแข็งแกร่งทางการเงิน
- เงินสดหมุนเวียนที่สำรองไว้สำหรับการลงทุน มากกว่า 2.5 พันล้านบาท
- ผลกำไรที่คาดการณ์ได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป จากเงินปันผลของโครงการด้านพลังงาน ที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน
- งบดุลที่มั่นคง พร้อมประสบการณ์ในธุรกิจพัฒนาที่ดิน เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการรองรับการขยายธุรกิจ
“บริษัทยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การขยายธุรกิจ และรักษาสมดุลของแหล่งรายได้จากหลายแหล่ง ทั้งนิคมอุตสาหกรรม บริการด้านสาธารณูปโภค และโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจของเราแข็งแกร่ง และพร้อมรองรับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มฟื้นตัวในปี 2553 ไปจนถึง 2554 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดน่าจะมีความผันผวนน้อยลง ทั้งนี้ นับจากปี 2553 ถึง 2558 สภาพการเงินที่แข็งแกร่งทำให้เรามองเห็นโอกาสที่ชัดเจน ซึ่งเวลานี้ถือเป็น “ช่วงเวลาแห่งการเติบโต” อีกช่วงหนึ่งของเหมราชฯ”
_________________________
เกี่ยวกับบริษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน
บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 โดยเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมรวม 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี เขตประกอบการอุตสาหกรรมระยองอินดัสเตรียลแลนด์ และเขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล (สระบุรี) โดยมีที่ดินรวมประมาณ 32,000 ไร่ ซึ่งได้พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 417 รายซึ่งเป็นผู้ประกอบการทางด้านยานยนต์ 144 ราย และมีจำนวนโรงงานรวม 621 โรงงาน ก่อให้เกิดการจ้างงานในนิคมฯต่างๆของเหมราชพัฒนาที่ดินราว 53,000 คน มีเงินลงทุนรวมของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯเป็นมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
รายละเอียดเพิ่มเติมของบริษัทเหมราช สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hemaraj.com หรือ www.theparkresidence.co.th หรือติดต่อทางอีเมล์ที่ invest@hemaraj.com หรือ 02-719-9555-9
นาย เผ่าพิทยา สมุทรกลิน
ผู้อำนวยการ – นักลงทุนสัมพันธ์ และวางแผน
บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน
ชั้น 18 อาคาร ยู เอ็ม เลขที่ 9 ถนน รามคำแหง
สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 ประเทศไทย
โทรศัพท์: 662 - 719 - 9555 - 9
โทรสาร: 662 - 719 - 9546 - 7
หรือติดต่อ
บริษัท แบรนด์คอม คอนซัลแทนส์ จำกัด
คุณไพลิน บูรณะมิตรานนท์ / คุณเสาวรินทร์ ทองทัศน์
โทร. 0-2642-9620 (12 สาย) โทรสาร 0-2642-9622
กรุงเทพฯ – 30 มิถุนายน 2553 -- บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์ของไทย เปิดเผยผลประกอบการครึ่งปีแรก พร้อมคาดการณ์แนวโน้มและทิศทางธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553
นายเดวิด นาร์โดน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เหมราชฯ มั่นใจว่าผลประกอบการทั้งปี 2553 จะเป็นไปตามเป้า อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจให้บริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บวกกับแนวโน้มที่สดใสในช่วงครึ่งปีหลังและปีต่อๆ ไป ทั้งนี้ บรรยากาศการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในประเทศไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยคาดว่ากำลังการผลิตรถยนต์ ทั้งเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออก จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50-60 และแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมือง คาดว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีในปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 5 โดยมียอดส่งออกรวมขยายตัวร้อยละ 35”
“ผลประกอบการที่ดีขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้จากการขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงรายได้จากบริการสาธารณูปโภคและโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เราขายที่ดินไปแล้ว 610 ไร่ (244 เอเคอร์) แม้ว่าตลาดจะชะลอตัวในช่วงกลางไตรมาส 2 ทั้งนี้เป็นการปรับตัวจากอุปสงค์ที่หดตัวในช่วงปี 2552 จากที่ตั้งเป้าขายที่ดินในนิคมฯ ไว้ราว 800-1,000 ไร่ในปี 2553 บริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะทำได้ถึง 1,000 ไร่”
“ล่าสุดบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศไทย ได้ตัดสินใจซื้อที่ดินจำนวน 468 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด ซึ่งเป็นส่วนขยายของ ดีทรอยท์แห่งตะวันออก เพื่อตั้งโรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ในประเทศไทย ซึ่งการรับรู้รายได้จากการขายที่ดินครั้งสำคัญครั้งนี้จะไปปรากฏในผลประกอบการปี 2553 และ 2554 ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ความคืบหน้าในการก่อสร้างโรงงานจนแล้วเสร็จ” นายเดวิด กล่าว
จากการแถลงข่าวของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศไทย ในการตั้งโรงงานประกอบรถยนต์นั่งแห่งใหม่ดังกล่าว ฟอร์ด มอเตอร์ ใช้เงินลงทุนถึง 1 หมื่น 5 พันล้านบาท โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่ 748,800 ตารางเมตร และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตเบื้องต้น 150,000 คันต่อปี ซึ่งร้อยละ 85 เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออก
“การที่ ฟอร์ด มอเตอร์ เลือกนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด เป็นสถานที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ ตอกย้ำให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความสำเร็จของแนวคิดของเหมราชฯในการจัดตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อศักยภาพด้านการพัฒนาที่ดิน และคุณภาพในการให้บริการด้าน ระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการอื่นๆ ที่ได้มาตรฐานระดับสากลของเหมราชฯ ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า เหมราชฯ ได้บุกเบิกแนวคิด “ดีทรอยท์ แห่งตะวันออก” ขึ้นพร้อมๆกับการเข้ามาลงทุนของฟอร์ดในบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด มาเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี” นายเดวิด กล่าว
ถึงวันนี้ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมรถยนต์ ณ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์น ซีบอร์ด (ระยอง) และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์น ซีบอร์ด มีพื้นที่รวมกันประมาณ 17,000 ไร่ หรือ 6,700 เอเคอร์ มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนและประกอบรถยนต์ 210 โรงงาน จากจำนวนผู้ประกอบการกว่า 144 ราย การขายที่ดินให้ฟอร์ด มอเตอร์ ถือเป็นแม่เหล็กที่จะช่วยดึงดูดให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมรถยนต์ สนใจเข้ามาตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมของเหมราชฯ มากขึ้น
“ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจของเหมราชฯ ในปี 2553 ก็คือ ความมุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชุนรอบๆ นิคมฯ ตัวอย่างล่าสุด คือ ศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ESIE) หรือ E:mc^2 ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) ซึ่งเหมราชฯ ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดตั้งขึ้นเพื่อเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม และรายงานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)” นายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) กล่าว
ในส่วนของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนใกล้เคียง เหมราชฯ ได้ให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษาและการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้น คือ โครงการ“Adopt-A-School - Train the Trainer Program” ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมแบบบูรณาการให้แก่ครูจำนวน 200 คนจากพื้นที่รอบๆ นิคมฯ ในจังหวัดระยองและชลบุรี ส่วนกิจกรรมอื่นที่ดำเนินการต่อเนื่อง ได้แก่ การแจกอุปกรณ์การศึกษาแก่เด็กนักเรียนกว่า 13,000 คน การจัดค่ายศิลปะสำหรับนักเรียน การให้ทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี การสนับสนุนทีมฟุตบอลชลบุรี เอฟ.ซี. และล่าสุดโครงการอบรมอาชีพสำหรับแม่บ้าน
สรุปแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจของเหมราชฯ ในปี 2553 และปีต่อๆ ไป
นิคมอุตสาหกรรม
- รายได้ของเหมราชฯ จากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงฟื้นตัวหลังจากเดิมที่อุปสงค์ทั่วโลกลดลงอย่างมากในปี 2552
- คาดการณ์ยอดขายที่ดินในนิคมฯ ไว้ที่ 1,000 ไร่ โดยในช่วงครึ่งปีแรกสามารถขายได้แล้วร้อยละ 60 และคาดว่าจะมีแนวโน้มที่สดใสในปีต่อๆ ไป
- ธุรกิจหลักๆ ที่เหมราชฯ ดำเนินการอยู่ล้วนมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจในปี 2553 โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองเพียงเล็กน้อย และเชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีเช่นนี้ต่อไป ขณะที่กำลังการผลิตจะเพิ่มขึ้นในส่วนของการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและอื่นๆ
- บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า นับตั้งแต่ปี 2554 การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปลายน้ำจะกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากกฎระเบียบเกี่ยวกับการขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบของสิ่งแวดลอมและสุขภาพ (EHIA) มีความชัดเจน ส่งผลให้โครงการต่าง ๆ ดำเนินการต่อได้
ธรุกิจบริการด้านสาธารณูปโภค
- คาดว่ารายได้จากบริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในปี 2553 จากที่รายได้คงตัวในปี 2552
- คาดว่ารายได้จากบริการด้านสาธารณูปโภคในนิคมฯ จะเพิ่มขึ้นจาก 960 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 2 พันล้านบาทภายในปี 2559
- การลงทุนด้านพลังงานของเหมราชฯจนถึงปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท
- เงินปันผลหรือกำไรจาการลงทุนด้านพลังงานที่เหมราชฯ จะได้รับต่อปี นับจาก ปี 2555 ถึง 2561 อยู่ที่ 1.2 ถึง 1.5 พันล้านบาท (เฉพาะจากโครงการที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้เท่านั้น)
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- ยอดขายของ The Park Chidlom กลับมาคึกคักอีกครั้งในปี 2553 ด้วยราคาขายที่สามารถแข่งขันได้และชื่อเสียงของโครงการ
- มีแผนจะเปิดตัวโครงการใหม่ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และอีสเทิร์น ซีบอร์ด ในปี 2553
- คาดว่ารายได้จากโรงงานสำเร็จรูปให้เช่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ในปี 2553 โดยยอดขายกระเตื้องขึ้นหลังจากซบเซาในปี 2552 คาดว่าค่าเฉลี่ยการเติบโตต่อปี (CAGR) จะอยู่ที่ร้อยละ 15
ความแข็งแกร่งทางการเงิน
- เงินสดหมุนเวียนที่สำรองไว้สำหรับการลงทุน มากกว่า 2.5 พันล้านบาท
- ผลกำไรที่คาดการณ์ได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป จากเงินปันผลของโครงการด้านพลังงาน ที่ดำเนินการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน
- งบดุลที่มั่นคง พร้อมประสบการณ์ในธุรกิจพัฒนาที่ดิน เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งในการรองรับการขยายธุรกิจ
“บริษัทยังคงมุ่งให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การขยายธุรกิจ และรักษาสมดุลของแหล่งรายได้จากหลายแหล่ง ทั้งนิคมอุตสาหกรรม บริการด้านสาธารณูปโภค และโครงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ธุรกิจของเราแข็งแกร่ง และพร้อมรองรับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเริ่มฟื้นตัวในปี 2553 ไปจนถึง 2554 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดน่าจะมีความผันผวนน้อยลง ทั้งนี้ นับจากปี 2553 ถึง 2558 สภาพการเงินที่แข็งแกร่งทำให้เรามองเห็นโอกาสที่ชัดเจน ซึ่งเวลานี้ถือเป็น “ช่วงเวลาแห่งการเติบโต” อีกช่วงหนึ่งของเหมราชฯ”
_________________________
เกี่ยวกับบริษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน
บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 โดยเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับสากล ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมรวม 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี เขตประกอบการอุตสาหกรรมระยองอินดัสเตรียลแลนด์ และเขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล (สระบุรี) โดยมีที่ดินรวมประมาณ 32,000 ไร่ ซึ่งได้พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 417 รายซึ่งเป็นผู้ประกอบการทางด้านยานยนต์ 144 ราย และมีจำนวนโรงงานรวม 621 โรงงาน ก่อให้เกิดการจ้างงานในนิคมฯต่างๆของเหมราชพัฒนาที่ดินราว 53,000 คน มีเงินลงทุนรวมของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯเป็นมูลค่าประมาณ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
รายละเอียดเพิ่มเติมของบริษัทเหมราช สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hemaraj.com หรือ www.theparkresidence.co.th หรือติดต่อทางอีเมล์ที่ invest@hemaraj.com หรือ 02-719-9555-9
นาย เผ่าพิทยา สมุทรกลิน
ผู้อำนวยการ – นักลงทุนสัมพันธ์ และวางแผน
บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน
ชั้น 18 อาคาร ยู เอ็ม เลขที่ 9 ถนน รามคำแหง
สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 ประเทศไทย
โทรศัพท์: 662 - 719 - 9555 - 9
โทรสาร: 662 - 719 - 9546 - 7
หรือติดต่อ
บริษัท แบรนด์คอม คอนซัลแทนส์ จำกัด
คุณไพลิน บูรณะมิตรานนท์ / คุณเสาวรินทร์ ทองทัศน์
โทร. 0-2642-9620 (12 สาย) โทรสาร 0-2642-9622