ข่าวสารบริษัท
การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จํากัด (มหาชน) ประจำปี 2557: จ่ายเงินปันผล 0.17 บาทต่อหุ้นทั้งปี คาดความต้องการของลูกค้าจะกลับมาในช่วงครึ่งหลังของปี 2557
29/04/2557
กรุงเทพฯ/ 29 เมษายน 2557 – บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) ได้จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีขึ้น เพื่อนำเสนอรายงานผลประกอบการประจำปี 2556 ที่ผ่านมา โดยบริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 8,769.6 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 จากปี 2555) และกำไรสุทธิ 4,338.5 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 90) ซึ่งในการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นได้มีมติจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการแก่ผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ปี 2556 ทั้งสิ้นจำนวน 0.17 บาท ต่อหุ้น (โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น จำนวน 0.06 บาทต่อหุ้น)
สำหรับปี 2557 เหมราชฯ ยังยืนเป้าหมายการขายที่ดินไว้ที่ 1,600 ไร่ (640 เอเคอร์ หรือ 256 เฮกตาร์) แม้ว่าจะมีความล่าช้าในการอนุมัติโครงการสนับสนุนการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง ทางบริษัทฯ ยังมองเห็นความเคลื่อนไหวด้านการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันเหมราชมีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 41,313 ไร่ (16,525 เอเคอร์ หรือ 6,610 เฮกตาร์) ได้พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ประกอบด้วยลูกค้าจำนวนทั้งสิ้น 620 ราย มีสัญญาที่ดิน และโรงงาน 944 สัญญาเป็นผู้ประกอบการด้านยานยนต์จำนวน 216 ราย มีสัญญาด้านยานยนต์ 331 สัญญา ส่วนผู้ประกอบการด้านเคมี และปิโตรเคมีจำนวนทั้งสิ้น 59 ราย โดยมีเงินลงทุนรวมของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของเหมราช คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมมากกว่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
เหมราชฯ มีแผนที่จะพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้เปิดพื้นที่เฟส 6 ของนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (H-ESIE) ขนาด 575 ไร่ (230 เอเคอร์ หรือ 92 เฮกตาร์) พร้อมให้บริการแก่นักลงทุน และกำลังดำเนินการพัฒนานิคมแห่งใหม่คือนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี 2 (HCIE 2) ขนาด 632 ไร่ (253 เอเคอร์ หรือ 101 เฮกตาร์) โครงการพัฒนาทั้งหมดนี้จะช่วยให้เหมราชฯ ครองความเป็นผู้นำในตลาด และคงความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาด อันเห็นได้ชัดจากการจัดคลัสเตอร์กลุ่มอุตสาหกรรมหลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านยานยนต์ ปิโตรเคมี เหล็ก พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ
นายเดวิด นาร์โดน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเหมราชฯ กล่าวว่า “เรามั่นใจว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับการเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีปัญหาทางการเมืองก็ตาม และเราก็ยินดีที่การพิจารณาอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง สำหรับนักลงทุนแล้ว เกณฑ์การตัดสินใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เหมาะสม ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี หรือแผนจัดการสิ่งแวดล้อมและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ และลูกค้าของเราก็มองไปที่ผลประโยชน์ในระยะยาวจากความโดดเด่นด้านการค้าระดับภูมิภาคของไทย”
อนาคตอันสดใสของโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้า
กลยุทธ์ของเหมราชฯ คือการสร้างรายได้ระยะยาวและเป็นรายได้ที่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นธุรกิจโรงงานสำเร็จรูป (RBF) โรงงานที่สร้างตามความต้องการของลูกค้าแบบ Build to Suit (BTS) รวมทั้งคลังสินค้าให้เช่า จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจสำคัญที่มีการขยายตัวของเหมราช
โดยโรงงานสำเร็จรูปของเหมราชมีขนาดตั้งแต่ 450 ตารางเมตร ถึง 10,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆของเหมราช มีพื้นที่รวมกว่า 657,663 ตารางเมตร ซึ่งรวมถึงโรงงานสำเร็จรูป 220 ยูนิต หรือ 507,546 ตารางเมตร ของเหมราชฯ และอีก 104 ยูนิต หรือ 150,117 ตารางเมตร อันเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า (HPF) ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สำหรับคลังสินค้าให้เช่าทั้งสี่แห่งของเหมราชฯ มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ 1,545 ถึง 50,000 ตารางเมตร พร้อมให้บริการแก่นักลงทุนโดยมีพื้นที่รวม 180,000 ตารางเมตร โดยบริษัทฯ คาดว่า ในปี 2557 นี้ ยอดการเช่าพื้นที่โรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าจะเพิ่มขึ้นอีก 70,000 ตารางเมตร และ 40,000 ตารางเมตร ตามลำดับ
“จากปริมาณความต้องการโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าให้เช่าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมราชจึงมองเห็นโอกาสการขยายตัวของธุรกิจนี้ จึงได้ออกแบบและนำเสนอโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าที่มีขนาดยืดหยุ่นได้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า” นายเดวิด นาร์โดน เสริม
แผนการลงทุนและการระดมทุน
“แผนการลงทุน 5 ปีของเหมราช (ปี 2555 – ปี 2559) มูลค่า 40,000 ล้านบาท กำลังดำเนินไปตามแผน สองปีที่ผ่านมา เราได้ลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น 18,000 ล้านบาท และในปี 2557 นี้ คาดว่าจะลงทุนเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท โดยแผนลงทุนนี้จะมุ่งเน้นในด้านการขยาย 4 ธุรกิจหลักของเรา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มรายได้ระยะยาวอย่างต่อเนื่องและสามารถคาดการณ์ผลประกอบการของเราได้ดียิ่งขึ้นและตามแผนการระดมทุนระยะยาว บริษัทฯ กำลังเตรียมออกหุ้นกู้ใหม่อายุ 10 ปี มูลค่า 2,500 ล้านบาท ดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 5.75 ต่อปี” เขากล่าวเสริม
สาธารณูปโภคและไฟฟ้าจะยังเติบโตต่อไป
จากความต้องการด้านบริการที่เกี่ยวเนื่องกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทางบริษัทจึงคาดว่า อัตราการเติบโตด้านสาธารณูปโภคของนิคมอุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงถึงร้อยละ 8 ต่อปี และสร้างรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท ในปี 2558
สำหรับธุรกิจไฟฟ้า บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างเหมราชฯ (ร้อยละ 35) และโกลว์ (ร้อยละ 65) ปัจจุบันเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว และคาดว่าจะสามารถทำกำไรให้กับเหมราชฯ ได้ถึง 1,200 ล้านบาทต่อปีในช่วงระหว่างปี 2557 – 2559 นอกจากนี้แล้ว เหมราชฯ ยังมีแผนลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอีก 7 โครงการ ในสัดส่วนร้อยละ 25.01 หลังจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กโครงการแรก ขนาด 126 เมกะวัตต์ ซึ่งร่วมทุนกับบริษัท กัลฟ์ เจพี (Gulf JP NLL) ได้เริ่มดำเนินการแล้ว
สำหรับปี 2557 เหมราชฯ ยังยืนเป้าหมายการขายที่ดินไว้ที่ 1,600 ไร่ (640 เอเคอร์ หรือ 256 เฮกตาร์) แม้ว่าจะมีความล่าช้าในการอนุมัติโครงการสนับสนุนการลงทุนของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง ทางบริษัทฯ ยังมองเห็นความเคลื่อนไหวด้านการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันเหมราชมีพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 41,313 ไร่ (16,525 เอเคอร์ หรือ 6,610 เฮกตาร์) ได้พัฒนาให้เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมด้านยานยนต์ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ประกอบด้วยลูกค้าจำนวนทั้งสิ้น 620 ราย มีสัญญาที่ดิน และโรงงาน 944 สัญญาเป็นผู้ประกอบการด้านยานยนต์จำนวน 216 ราย มีสัญญาด้านยานยนต์ 331 สัญญา ส่วนผู้ประกอบการด้านเคมี และปิโตรเคมีจำนวนทั้งสิ้น 59 ราย โดยมีเงินลงทุนรวมของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของเหมราช คิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวมมากกว่า 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
เหมราชฯ มีแผนที่จะพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้เปิดพื้นที่เฟส 6 ของนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด (H-ESIE) ขนาด 575 ไร่ (230 เอเคอร์ หรือ 92 เฮกตาร์) พร้อมให้บริการแก่นักลงทุน และกำลังดำเนินการพัฒนานิคมแห่งใหม่คือนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี 2 (HCIE 2) ขนาด 632 ไร่ (253 เอเคอร์ หรือ 101 เฮกตาร์) โครงการพัฒนาทั้งหมดนี้จะช่วยให้เหมราชฯ ครองความเป็นผู้นำในตลาด และคงความได้เปรียบด้านการแข่งขันในตลาด อันเห็นได้ชัดจากการจัดคลัสเตอร์กลุ่มอุตสาหกรรมหลักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านยานยนต์ ปิโตรเคมี เหล็ก พลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ
นายเดวิด นาร์โดน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเหมราชฯ กล่าวว่า “เรามั่นใจว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับการเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีปัญหาทางการเมืองก็ตาม และเราก็ยินดีที่การพิจารณาอนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนต่างๆ สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง สำหรับนักลงทุนแล้ว เกณฑ์การตัดสินใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เหมาะสม ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี หรือแผนจัดการสิ่งแวดล้อมและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ยังเป็นปัจจัยสำคัญ และลูกค้าของเราก็มองไปที่ผลประโยชน์ในระยะยาวจากความโดดเด่นด้านการค้าระดับภูมิภาคของไทย”
อนาคตอันสดใสของโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้า
กลยุทธ์ของเหมราชฯ คือการสร้างรายได้ระยะยาวและเป็นรายได้ที่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นธุรกิจโรงงานสำเร็จรูป (RBF) โรงงานที่สร้างตามความต้องการของลูกค้าแบบ Build to Suit (BTS) รวมทั้งคลังสินค้าให้เช่า จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจสำคัญที่มีการขยายตัวของเหมราช
โดยโรงงานสำเร็จรูปของเหมราชมีขนาดตั้งแต่ 450 ตารางเมตร ถึง 10,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆของเหมราช มีพื้นที่รวมกว่า 657,663 ตารางเมตร ซึ่งรวมถึงโรงงานสำเร็จรูป 220 ยูนิต หรือ 507,546 ตารางเมตร ของเหมราชฯ และอีก 104 ยูนิต หรือ 150,117 ตารางเมตร อันเป็นสินทรัพย์ภายใต้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่า (HPF) ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สำหรับคลังสินค้าให้เช่าทั้งสี่แห่งของเหมราชฯ มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ 1,545 ถึง 50,000 ตารางเมตร พร้อมให้บริการแก่นักลงทุนโดยมีพื้นที่รวม 180,000 ตารางเมตร โดยบริษัทฯ คาดว่า ในปี 2557 นี้ ยอดการเช่าพื้นที่โรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าจะเพิ่มขึ้นอีก 70,000 ตารางเมตร และ 40,000 ตารางเมตร ตามลำดับ
“จากปริมาณความต้องการโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าให้เช่าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหมราชจึงมองเห็นโอกาสการขยายตัวของธุรกิจนี้ จึงได้ออกแบบและนำเสนอโรงงานสำเร็จรูปและคลังสินค้าที่มีขนาดยืดหยุ่นได้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า” นายเดวิด นาร์โดน เสริม
แผนการลงทุนและการระดมทุน
“แผนการลงทุน 5 ปีของเหมราช (ปี 2555 – ปี 2559) มูลค่า 40,000 ล้านบาท กำลังดำเนินไปตามแผน สองปีที่ผ่านมา เราได้ลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น 18,000 ล้านบาท และในปี 2557 นี้ คาดว่าจะลงทุนเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท โดยแผนลงทุนนี้จะมุ่งเน้นในด้านการขยาย 4 ธุรกิจหลักของเรา ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มรายได้ระยะยาวอย่างต่อเนื่องและสามารถคาดการณ์ผลประกอบการของเราได้ดียิ่งขึ้นและตามแผนการระดมทุนระยะยาว บริษัทฯ กำลังเตรียมออกหุ้นกู้ใหม่อายุ 10 ปี มูลค่า 2,500 ล้านบาท ดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 5.75 ต่อปี” เขากล่าวเสริม
สาธารณูปโภคและไฟฟ้าจะยังเติบโตต่อไป
จากความต้องการด้านบริการที่เกี่ยวเนื่องกับนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมอื่นๆ ทางบริษัทจึงคาดว่า อัตราการเติบโตด้านสาธารณูปโภคของนิคมอุตสาหกรรมจะเพิ่มสูงถึงร้อยละ 8 ต่อปี และสร้างรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาท ในปี 2558
สำหรับธุรกิจไฟฟ้า บริษัท เก็คโค่-วัน จำกัด ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างเหมราชฯ (ร้อยละ 35) และโกลว์ (ร้อยละ 65) ปัจจุบันเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบแล้ว และคาดว่าจะสามารถทำกำไรให้กับเหมราชฯ ได้ถึง 1,200 ล้านบาทต่อปีในช่วงระหว่างปี 2557 – 2559 นอกจากนี้แล้ว เหมราชฯ ยังมีแผนลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอีก 7 โครงการ ในสัดส่วนร้อยละ 25.01 หลังจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กโครงการแรก ขนาด 126 เมกะวัตต์ ซึ่งร่วมทุนกับบริษัท กัลฟ์ เจพี (Gulf JP NLL) ได้เริ่มดำเนินการแล้ว