ข่าวสารบริษัท
เหมราชฯ มั่นใจผลงานปี 2557 พร้อมเดินหน้าสู่อนาคต
23/01/2557
ผู้นำด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า และธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แสดงความเชื่อมั่นในการเติบโตของบริษัท พร้อมมุ่งสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรุงเทพฯ – 23 มกราคม 2557 – ภายหลังผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมในปี 2556 บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) พร้อมเผยวิสัยทัศน์สู่ความสำเร็จในปี 2557 เน้นสี่ธุรกิจหลักที่เติบโตโดดเด่น ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า และอสังหาริมทรัพย์
เหมราชฯ เริ่มดำเนินการตามแผนลงทุน 5 ปี มูลค่า 40,000 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี 2555 โดยได้ใช้งบลงทุนไปแล้ว 18,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของงบลงทุนทั้งหมด ส่วนในปี 2557 บริษัทมีแผนจะใช้งบลงทุนจำนวน 6,000 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับที่ใช้จ่ายไปแล้วจะคิดเป็นการใช้งบลงทุนร้อยละ 60 ภายในระยะเวลา 3 ปี แสดงถึงความเชื่อมั่นทั้งในแผนธุรกิจและอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้เริ่มเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ โดยกองทุนมีมูลค่าโครงการ 4,700 ล้านบาท ลงทุนในกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ (Freehold) มูลค่า 3,220 ล้านบาท และสิทธิการเช่า (Leasehold) มูลค่า 1,480 ล้านบาท ในที่ดินและโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า
นิคมอุตสาหกรรม: เปิดตัวนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 7
เหมราชฯ ยังคงพัฒนาและให้ความสำคัญกับรายได้และผลการดำเนินงานที่มาจากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งของเหมราชฯ ครอบคลุมพื้นที่ 39,109 ไร่ (15,600 เอเคอร์ หรือ 6,300 เฮกตาร์) ให้บริการที่ดินอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคแก่ลูกค้าชั้นนำกว่า 615 บริษัท ภายใต้สัญญาซื้อที่ดินและเช่าโรงงาน 933 สัญญา ในจำนวนนี้เป็นลูกค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ 215 ราย ภายใต้สัญญา 329 สัญญา และเป็นลูกค้าในอุตสาหกรรมเคมี และปิโตรเคมี จำนวน 58 ราย
ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมรวมมูลค่าราว 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 800,600 ล้านบาท) ก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
นิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคลัสเตอร์สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เหล็กและโลหะ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บริษัทยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าหลักเป็นผู้ผลิตยานยนต์ (OEMs) ภายใต้แบรนด์ชั้นนำ 7 แบรนด์ ได้แก่ เชฟโรเลต ฟอร์ด มาสด้า จีเอ็มซี โฮล เด้น ซูซูกิ และเอ็มจี โดยคาดว่าจะมีกำลังการผลิตยานยนต์ได้ 800,000 คัน หรือราวร้อยละ 25-30 ของประเทศ ในปี 2558
นิคมอุตสาหกรรมยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่บริษัทถึงร้อยละ 45 และยังคงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตต่อไปในอนาคต เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTAs) กับประเทศญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย อินเดีย และการเปิดการค้าเสรีภายในกลุ่มประเทศอาเซียน
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจขยายตัวคือศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนของประเทศ ทั้งในแง่ของต้นทุน ค่าเงิน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และการเข้าถึงตลาด ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตจากประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ตามสถิติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าในปี 2556 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI จำนวนกว่า 2,016 โครงการ หรือคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนราว 1,027,000 ล้านบาท
มร. เดวิด นาร์โดน กรรมการผู้จัดการ ของเหมราชฯ กล่าวว่า “นิคมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์พาร์คส่วนใหญ่ของเหมราชฯ ตั้งอยู่ในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง เราจึงมั่นใจว่าธุรกิจของเหมราชฯ จะยังคงเติบโตต่อไป นอกจากนี้ การเป็นผู้นำในตลาดยังช่วยให้เรามีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งนำไปสู่การขยายการให้บริการผ่านการร่วมทุน”
ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี 2 ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 7 ของบริษัท ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้น 632 ไร่ (250 เอเคอร์ หรือ 101 เฮกตาร์) พร้อมให้บริการแก่นักลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 นี้
สำหรับในปีนี้ เหมราชฯ ได้ประเมินยอดขายที่ดินอุตสาหกรรมไว้ที่ 1,600 ไร่ (640 เอเคอร์ หรือ 256 เฮกตาร์) จากลูกค้าใหม่จำนวน 45 ราย ภายใต้สัญญารวม 70 สัญญา
สาธารณูปโภค: เติบโตร้อยละ 14 ต่อปีใน 5 ปีข้างหน้า
เหมราชฯ ยังให้บริการด้านสาธารณูปโภค อาทิ น้ำดิบ น้ำประปา น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม จนถึงระบบจัดการน้ำเสีย และการบำรุงรักษา ให้แก่ลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมได้แก่โรงไฟฟ้า โรงงานเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ และปิโตรเคมี
บริษัทฯ คาดว่าจะมีการใช้น้ำสูงถึง 270,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในปี 2557 และศักยภาพของบริษัทในด้านนี้ก็ส่งผลให้เหมราชฯ สามารถยกระดับบริการสาธารณูปโภคให้ครอบคลุมมากกว่าการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทเอง ทั้งนี้ เหมราชฯ คาดว่าปริมาณการใช้สาธารณูปโภคจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 14 ต่อปีไปจนถึงปี 2561 และจะสามารถสร้างรายได้ราว 2,000 ล้านบาท ในปี 2558 และ 2,500 ล้านบาทในปี 2561
นายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า “การเติบโตของนิคมอุตสาหกรรมจะนำไปสู่ความต้องการด้านสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า หรืออาจกล่าวได้ว่าธุรกิจทั้งสองด้านนี้สามารถเกื้อหนุนกันได้โดยธรรมชาตินั่นเอง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เราได้พัฒนาความสามารถในด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำ และการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเราก็มีแผนที่จะนำศักยภาพในจุดนี้มาพัฒนาต่อยอดธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น”
ไฟฟ้า: เพิ่มจำนวนโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP)
เหมราชฯ มีโครงการโรงไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 12 โครงการ โดยมีโรงไฟฟ้า จำนวน 4 แห่งที่เปิดดำเนินการแล้ว และอีก 8 โครงการอยู่ระหว่างการวางแผนและพัฒนา โรงไฟฟ้าทั้งหมดสามารถผลิตไฟฟ้ารวมกันได้ถึง 2,659 เมกะวัตต์ โดยเหมราชฯ เป็นผู้ถือหุ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 22
เหมราชฯ ได้ร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ด้วยเงินลงทุน 5,400 ล้านบาท โดยถือหุ้นร่วมกับบริษัทโกลว์ (GDF Suez Energy International) ในอัตราถือหุ้น 35/65 ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 ปัจจุบันมีการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ และคาดว่าโรงไฟฟ้ากำลังผลิต 660 เมกะวัตต์แห่งนี้จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทถึง 1,200 ล้านบาทต่อปี จนถึงปี 2559
เหมราชฯ ยังถือหุ้นร้อยละ 12.75 ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยเหาะในประเทศลาว และอีกร้อยละ 5 ในโครงการโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี แล้ว นอกจากนั้นเหมราชฯ ยังร่วมทุนกับกัลฟ์ เจพี ประเทศญี่ปุ่น (GJP NLL) ในสัดส่วนร้อยละ 25.01 ในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 126 เมกะวัตต์ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอีก 8 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีกำลังการผลิต 126 เมกะวัตต์
มร. เดวิด นาร์โดน กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าปัจจัยในการเติบโตของธุรกิจพลังงานมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมของเหมราชฯ ประการที่สองคือความร่วมมือกับคู่ค้าที่มีประสบการณ์ และเป็นผู้นำทางธุรกิจในระดับนานาชาติ เช่น โกลว์ จีดีเอฟ สุเอซ และ กัลฟ์ เจ พาวเวอร์ ประเทศญี่ปุ่น”
จากเดิมที่รายได้จากการผลิตไฟฟ้าของเหมราชฯ เพิ่มขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) บริษัทคาดว่ารายได้ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบสามเท่าตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า
อสังหาริมทรัพย์: รายได้จากการให้เช่าโรงงานสำเร็จรูปและโลจิสติกส์พาร์คเพิ่มขึ้นสูง
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) ได้เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และเริ่มเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้ โดยรายได้จากกองทุนดังกล่าวจะนำไปใช้พัฒนาโรงงานสำเร็จรูป ซึ่งกองทุนฯ มีพื้นที่โรงงานสำเร็จรูปให้เช่ารวม 150,117 ตร.ม. จากที่มีอยู่ทั้งสิ้น 657,663 ตร.ม.
บริษัทฯ คาดว่าจะมีพื้นที่โรงงานสำเร็จรูปให้เช่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 30 ในปีนี้ (เพิ่มขึ้นราว 80,000 ถึง 90,000 ตร.ม. เมื่อเทียบกับปี 2556) จากพื้นที่เช่าทั้งหมด 297,368 ตร.ม. ส่วนพื้นที่เช่าโลจิส ติกส์พาร์ค หรือคลังสินค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกราว 40,000 – 50,000 ตร.ม.
ธุรกิจให้เช่าทั้งสองประเภท นอกจากจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้ในระยะยาวของบริษัทได้อีกด้วย
“จากความสำเร็จตลอด 25 ปีที่ผ่านมา เหมราชฯ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นเป้าหมายของนักลงทุนอุตสาหกรรม” มร. นาร์โดน สรุป “ด้วยรายได้จากสี่ธุรกิจหลักซึ่งส่งเสริมกันและกัน จะทำให้ความสำเร็จของเรามั่นคงยิ่งขึ้น และก้าวไกลกว่าเดิม”
กรุงเทพฯ – 23 มกราคม 2557 – ภายหลังผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยมในปี 2556 บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) พร้อมเผยวิสัยทัศน์สู่ความสำเร็จในปี 2557 เน้นสี่ธุรกิจหลักที่เติบโตโดดเด่น ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค ไฟฟ้า และอสังหาริมทรัพย์
เหมราชฯ เริ่มดำเนินการตามแผนลงทุน 5 ปี มูลค่า 40,000 ล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี 2555 โดยได้ใช้งบลงทุนไปแล้ว 18,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของงบลงทุนทั้งหมด ส่วนในปี 2557 บริษัทมีแผนจะใช้งบลงทุนจำนวน 6,000 ล้านบาท ซึ่งหากรวมกับที่ใช้จ่ายไปแล้วจะคิดเป็นการใช้งบลงทุนร้อยละ 60 ภายในระยะเวลา 3 ปี แสดงถึงความเชื่อมั่นทั้งในแผนธุรกิจและอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้เริ่มเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ โดยกองทุนมีมูลค่าโครงการ 4,700 ล้านบาท ลงทุนในกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ (Freehold) มูลค่า 3,220 ล้านบาท และสิทธิการเช่า (Leasehold) มูลค่า 1,480 ล้านบาท ในที่ดินและโรงงานสำเร็จรูปให้เช่า
นิคมอุตสาหกรรม: เปิดตัวนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 7
เหมราชฯ ยังคงพัฒนาและให้ความสำคัญกับรายได้และผลการดำเนินงานที่มาจากธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งของเหมราชฯ ครอบคลุมพื้นที่ 39,109 ไร่ (15,600 เอเคอร์ หรือ 6,300 เฮกตาร์) ให้บริการที่ดินอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคแก่ลูกค้าชั้นนำกว่า 615 บริษัท ภายใต้สัญญาซื้อที่ดินและเช่าโรงงาน 933 สัญญา ในจำนวนนี้เป็นลูกค้าที่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ 215 ราย ภายใต้สัญญา 329 สัญญา และเป็นลูกค้าในอุตสาหกรรมเคมี และปิโตรเคมี จำนวน 58 ราย
ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา มีการลงทุนของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมรวมมูลค่าราว 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 800,600 ล้านบาท) ก่อให้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อความก้าวหน้าและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
นิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญในกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคลัสเตอร์สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เหล็กและโลหะ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
บริษัทยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้าหลักเป็นผู้ผลิตยานยนต์ (OEMs) ภายใต้แบรนด์ชั้นนำ 7 แบรนด์ ได้แก่ เชฟโรเลต ฟอร์ด มาสด้า จีเอ็มซี โฮล เด้น ซูซูกิ และเอ็มจี โดยคาดว่าจะมีกำลังการผลิตยานยนต์ได้ 800,000 คัน หรือราวร้อยละ 25-30 ของประเทศ ในปี 2558
นิคมอุตสาหกรรมยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ให้แก่บริษัทถึงร้อยละ 45 และยังคงแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตต่อไปในอนาคต เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ อาทิ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTAs) กับประเทศญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย อินเดีย และการเปิดการค้าเสรีภายในกลุ่มประเทศอาเซียน
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจขยายตัวคือศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนของประเทศ ทั้งในแง่ของต้นทุน ค่าเงิน สาธารณูปโภคพื้นฐาน และการเข้าถึงตลาด ซึ่งนำไปสู่การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตจากประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ตามสถิติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าในปี 2556 มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI จำนวนกว่า 2,016 โครงการ หรือคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนราว 1,027,000 ล้านบาท
มร. เดวิด นาร์โดน กรรมการผู้จัดการ ของเหมราชฯ กล่าวว่า “นิคมอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์พาร์คส่วนใหญ่ของเหมราชฯ ตั้งอยู่ในเขตอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง เราจึงมั่นใจว่าธุรกิจของเหมราชฯ จะยังคงเติบโตต่อไป นอกจากนี้ การเป็นผู้นำในตลาดยังช่วยให้เรามีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งนำไปสู่การขยายการให้บริการผ่านการร่วมทุน”
ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี 2 ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งที่ 7 ของบริษัท ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้น 632 ไร่ (250 เอเคอร์ หรือ 101 เฮกตาร์) พร้อมให้บริการแก่นักลงทุนในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2557 นี้
สำหรับในปีนี้ เหมราชฯ ได้ประเมินยอดขายที่ดินอุตสาหกรรมไว้ที่ 1,600 ไร่ (640 เอเคอร์ หรือ 256 เฮกตาร์) จากลูกค้าใหม่จำนวน 45 ราย ภายใต้สัญญารวม 70 สัญญา
สาธารณูปโภค: เติบโตร้อยละ 14 ต่อปีใน 5 ปีข้างหน้า
เหมราชฯ ยังให้บริการด้านสาธารณูปโภค อาทิ น้ำดิบ น้ำประปา น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม จนถึงระบบจัดการน้ำเสีย และการบำรุงรักษา ให้แก่ลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรมได้แก่โรงไฟฟ้า โรงงานเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ และปิโตรเคมี
บริษัทฯ คาดว่าจะมีการใช้น้ำสูงถึง 270,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ในปี 2557 และศักยภาพของบริษัทในด้านนี้ก็ส่งผลให้เหมราชฯ สามารถยกระดับบริการสาธารณูปโภคให้ครอบคลุมมากกว่าการให้บริการในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทเอง ทั้งนี้ เหมราชฯ คาดว่าปริมาณการใช้สาธารณูปโภคจะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราร้อยละ 14 ต่อปีไปจนถึงปี 2561 และจะสามารถสร้างรายได้ราว 2,000 ล้านบาท ในปี 2558 และ 2,500 ล้านบาทในปี 2561
นายวิวัฒน์ จิรัฐติกาลสกุล รองกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า “การเติบโตของนิคมอุตสาหกรรมจะนำไปสู่ความต้องการด้านสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า หรืออาจกล่าวได้ว่าธุรกิจทั้งสองด้านนี้สามารถเกื้อหนุนกันได้โดยธรรมชาตินั่นเอง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ เราได้พัฒนาความสามารถในด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำ และการบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเราก็มีแผนที่จะนำศักยภาพในจุดนี้มาพัฒนาต่อยอดธุรกิจของเราให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น”
ไฟฟ้า: เพิ่มจำนวนโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP)
เหมราชฯ มีโครงการโรงไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 12 โครงการ โดยมีโรงไฟฟ้า จำนวน 4 แห่งที่เปิดดำเนินการแล้ว และอีก 8 โครงการอยู่ระหว่างการวางแผนและพัฒนา โรงไฟฟ้าทั้งหมดสามารถผลิตไฟฟ้ารวมกันได้ถึง 2,659 เมกะวัตต์ โดยเหมราชฯ เป็นผู้ถือหุ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 22
เหมราชฯ ได้ร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ด้วยเงินลงทุน 5,400 ล้านบาท โดยถือหุ้นร่วมกับบริษัทโกลว์ (GDF Suez Energy International) ในอัตราถือหุ้น 35/65 ซึ่งโรงไฟฟ้าแห่งนี้เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 ปัจจุบันมีการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ และคาดว่าโรงไฟฟ้ากำลังผลิต 660 เมกะวัตต์แห่งนี้จะสามารถสร้างรายได้ให้แก่บริษัทถึง 1,200 ล้านบาทต่อปี จนถึงปี 2559
เหมราชฯ ยังถือหุ้นร้อยละ 12.75 ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำห้วยเหาะในประเทศลาว และอีกร้อยละ 5 ในโครงการโรงไฟฟ้าโกลว์ ไอพีพี แล้ว นอกจากนั้นเหมราชฯ ยังร่วมทุนกับกัลฟ์ เจพี ประเทศญี่ปุ่น (GJP NLL) ในสัดส่วนร้อยละ 25.01 ในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก 126 เมกะวัตต์ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กอีก 8 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีกำลังการผลิต 126 เมกะวัตต์
มร. เดวิด นาร์โดน กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าปัจจัยในการเติบโตของธุรกิจพลังงานมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือ ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมของเหมราชฯ ประการที่สองคือความร่วมมือกับคู่ค้าที่มีประสบการณ์ และเป็นผู้นำทางธุรกิจในระดับนานาชาติ เช่น โกลว์ จีดีเอฟ สุเอซ และ กัลฟ์ เจ พาวเวอร์ ประเทศญี่ปุ่น”
จากเดิมที่รายได้จากการผลิตไฟฟ้าของเหมราชฯ เพิ่มขึ้นด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2552-2556) บริษัทคาดว่ารายได้ดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบสามเท่าตัวภายใน 5 ปีข้างหน้า
อสังหาริมทรัพย์: รายได้จากการให้เช่าโรงงานสำเร็จรูปและโลจิสติกส์พาร์คเพิ่มขึ้นสูง
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) ได้เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และเริ่มเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้ โดยรายได้จากกองทุนดังกล่าวจะนำไปใช้พัฒนาโรงงานสำเร็จรูป ซึ่งกองทุนฯ มีพื้นที่โรงงานสำเร็จรูปให้เช่ารวม 150,117 ตร.ม. จากที่มีอยู่ทั้งสิ้น 657,663 ตร.ม.
บริษัทฯ คาดว่าจะมีพื้นที่โรงงานสำเร็จรูปให้เช่าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 30 ในปีนี้ (เพิ่มขึ้นราว 80,000 ถึง 90,000 ตร.ม. เมื่อเทียบกับปี 2556) จากพื้นที่เช่าทั้งหมด 297,368 ตร.ม. ส่วนพื้นที่เช่าโลจิส ติกส์พาร์ค หรือคลังสินค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกราว 40,000 – 50,000 ตร.ม.
ธุรกิจให้เช่าทั้งสองประเภท นอกจากจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีแล้ว ยังเป็นแหล่งรายได้ในระยะยาวของบริษัทได้อีกด้วย
“จากความสำเร็จตลอด 25 ปีที่ผ่านมา เหมราชฯ เชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นเป้าหมายของนักลงทุนอุตสาหกรรม” มร. นาร์โดน สรุป “ด้วยรายได้จากสี่ธุรกิจหลักซึ่งส่งเสริมกันและกัน จะทำให้ความสำเร็จของเรามั่นคงยิ่งขึ้น และก้าวไกลกว่าเดิม”